ภาพ-เล่า-เรื่อง

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เลือกอาหาร…เลี่ยงสารพิษอย่างไรดี



ต้องยอมรับว่าการกินอยู่เดี๋ยวนี้แสนลำบาก จะกินไอศกรีมสักแท่งก็ต้องพะวงว่าจะมีแบคทีเรียจากอุจจาระปนอยู่ไหม หรือจะกินมันฝรั่งทอดสักชิ้นก็ต้องดูว่ามีปริมาณสารก่อมะเร็งอะคริลาไมค์มาก น้อยเพียงใดพอที่จะก่อให้เกิดก้อนเนื้อที่ไม่ได้เชื้อเชิญมาหรือเปล่า เฮ้อเกิดเป็นมนุษย์นี้น่าเหนื่อยจริง แถมพอจะตายก็ไม่ได้ “จากไปดีมีสุข” ชักระตุกที่เดียวตาย แต่ต้องมาตายอย่างเป็นทุกขเวทนาน่าสงสารเป็นยิ่งนักแต่อย่างไรก้ดี ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ก้ต้องสู้กับอนุมูลอิสระเหล่านี้ต่อไป เพียงแต่เรารู้จักเลือกสักหน่อยจะได้ไม่เป็นการทำลายสุขภาพตัวเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะขอให้หลักในการ “กินเพื่อสุขภาพ” เอาไว้ดังนี้

1. เลือกผักผลไม้ตามฤดุกาล เพราะนอกจากจะไม่มีการเก็บไว้นานมากแล้ว โอกาศที่จะต้องใช้ยาฆ่าแมลงก้ยังน้อยไม่เหมือนกับของนอกฤดู และยังเป็นการสนับสนุนพี่น้องเกษตรไทยให้ขายผลผลิตด้วย
2. อย่าซื้ออาหารหรือผักผลไม้ที่ลดราคาหลังห้างปิด เพราะอาหารเหล่านี้ได้ผ่านการปรุงหรือล้างมาตั้งแต่เช้า โดยกว่าจะถึงมือคุณก็ผ่านมือและตากแดดตากลมมาจนโชกโซน ถ้ารับประทานดูจะรู้ได้ทันทีว่าไม่สดแต่ราคาที่ลดยั่วใจทำให้บางท่านลงซื้อ ไปแต่ผลลัพธ์ที่ตามอาจได้ไม่คุ้มเสียนัก
3. ล้างผักผลไม้ทุกครั้ง แม้จะถูกบรรจุมาในถุงที่บอกว่าได้ล้างมาเรียบร้อยแล้ว เช่นสลัดผักใส่ถุงซิปล็อคตามห้าง เพราะอย่าลืมว่ากว่าจะถึงมือเราบางทีก็เย็นย่ำ ผักที่ล้างแล้วก็อาจมีแบคทีเรียเจริญงอกขึ้นมาได้อีก
4. เลือกผักผลไม้ที่เป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์หรือแน่ใจว่าสดสะอาด โดยเทคนิคของผมก็คือซื้อจากแม่ค้าเจ้าประจำเพราะถ้าเป็นลูกค้าเก่าเขาจะบอกตรงๆ ว่าอันไหนสด อันไหนค้างหรืออีกทีหนึ่งผมก็ไปซื้อที่ร้านดอยคำตรงตลาด อตก. ผักผลไม้จากโครงการหลวงนี้สดกรอบน่ารับประทานมาก
5. ฝึกดูฉลากข้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นนิสัย ถ้าเป็นฝรั่งนี่เขาจะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบของอาหารมาก อย่างคุกกี้ดำยี่ห้อหนึ่งเคยหมกเม็ดไม่ใส่คำเตือนว่ามีไขมันทรานส์แฟ้ทซึ่ง ทำให้เกิดโรคหัวใจอยู่ยังโดนฟ้องจนเสีนศูนย์ไปเลย แต่ของเรานั้นบางทีก็เอาสะดวกเข้าว่ามองๆ ดูแล้วยังไม่หนดอายุก้ใช้ได้ ซึ่งบางทีของสิ่งเดียวกันแต่ถ้าเขาใส่การกันบูดเข้าไปกว่าจะหมดอายุมันก็นานโขอยู่
6. ถ้าเป็นของสดขอให้เลือกซื้อในช่วงเวลาเช้า ถ้าแม้ปัจจุบันการขนส่งจะทันสมัยส่งของได้ทันใจทางเครื่องบินก็ตาม แต่การที่ของสดอยู่ในอากาศที่ร้อนช่วงบ่ายมักจะเป็นเคหะสถาณที่ดีสำหรับแบครีเรีย ขนาดว่าการผ่าตัดผุ้ป่วยนั้นยังไม่นิยมทำกันในเวลาบ่ายเลยครับก็ด้วยเหตุพลเดียวกันนี้เอง
7.ไม่ควรซื้อในวันปลายสัปดาห์ เช่นวันศุกร์หรือเสาร์ด้วยว่าจะเป็นวันที่อาหาร(ที่เคย) สดจะถูกนำมาโละขายให้หมดเพื่อที่จะได้นำของใหม่มาขายต่อไปในต่างประเทศก็เช่นกัน เชฟที่มีประสบการณ์ได้เคยออกโรงเตือนไว้เลยว่า อย่ากินอาหารทะเลในวันดังที่กล่าวไปเพราะจะได้อาหารที่ไม่สดแต่ถูกปรุงแต่ง ให้น่าดูน่ารักประทานโดยซอสที่โปะหน้า
8. เลือกรับประทานอาหารหรือซื้ออาหารในร้านที่มีผู้ซื้อเยอะ ด้วยว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสินค้าเร็ว โอกาสที่ผู้ซื้อจะได้ของค้างก็น้อยลง
9. ชิมอาหารก่อนปรับปรุงให้เป็นนิสัย กรมอนามัยได้เคยออกประกาศเตือนว่าคนไทยเรานั้นเป็นนักบริโภคนิยมในเรื่องของน้ำตาลและเกลือมากเกินพิกัดที่กำหนด โดยเหตุส่วนส่วนหนึ่งมากจากการ “ปรุงก่อนซิม” จนเป็นนิสัย ทำให้เป็นโรคไต โรคความดันโลหิตสูงกันมากตั้งแต่ยังอายุน้อย
10. อย่ากังวลกับสิ่งที่ผ่านไปหรือกับสิ่งที่ยังไม่เกิดมากเกินไป บางท่านห่วงสุขภาพมากจนไม่เป็นอันกินอันทำอะไรเลย อย่างนี้ก็เรียกว่าสุดโต่งเกินไปไม่เหมาะสม ทำให้ชีวิตมีความเครียดแฟงอยู่ลึกๆ ขอให้คิดว่าถ้าเลือกดีแล้ว ทำดีที่สุดในการป้องกันสุขภาพของเราแล้ว ก็ให้ภูมิใจว่ายังดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลยอีกหลายพันหลายหมื่น

ท้ายนี้ก็ขอให้อย่าเพิ่งทอดอาลัยกับชีวิตเลย ยังมีสิ่งที่สวยสดงดงามและอาหารสุขภาพดีๆ ให้ชื่นชมอีกเยอะ อาหารไทยส่วนใหญ่นั้นเป็นอาหารที่ทำจากผักพื้นบ้าน ถ้าเป็นไปได้อยากให้ลองใช้ผักที่ปลูกเองหรือผักที่ขึ้นตามธรรมชาติมาปรุงอา หารดูชึ้งนอกจากจะปลอดภัยรับประทานสะดวกใจแล้วยังได้วิตามินไม้แพ้ผักของ ฝรั่งด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นตำลึงข้าวรั่ว หรือผักโขมกินยอดก็ได้ ถ้าอยากรับประทานผักให้ได้หลากหลายมากกว่านี้ก็อาจซื้อได้จากที่โครงการหลวง โดยเฉพาะผักคะน้าที่สดกรอบ ราคาไม่แพง เหมาะที่จะนำมารับประทานวันละ 5 กำมือตามโปรแกรมต้านความชนา และยังมีสารต้านมะเร็งที่เรียกว่าอินโดลทรีคาร์บินอล (I-3-C) ที่ช่วยยังยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เนื้อร้ายด้วย เห็นไหมครับประเทศไทยเรายังเป็นแหล่งอาหารที่ดีอยู่มาก อย่าเพิ่มถอดใจด้วยเรื่องเล็กน้อยเพียงนี้เสียก่อนเลยครับ บ้านเรายังมีสิ่งที่น่ากลัวกว่าพิษภัยจากอาหารเยอะ


ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/40972


ข้าวกล้องป้องกันเบาหวาน



วารสารวิชาการ "บันทึกทางอายุรแพทย์" ของสหรัฐฯ รายงานว่า การเปลี่ยนจากกินข้าวขาวมาเป็นข้าวกล้องและขนมปังที่ทำจากแป้งข้าวสาลีที่ ไม่ได้เอารำออก จะช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้มากถึง 1 ใน 3
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดชื่อดังของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า การกินข้าวขัดขาวจะทำให้เป็นเบาหวานได้ง่าย เนื่องจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง ในขณะที่ข้าวกล้องและขนมปังจากแป้งข้าวสาลีที่ไม่ได้เอารำออก จะช่วยให้การขับกลูโคสเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

คณะนักวิจัยได้ศึกษาจากชาวสหรัฐฯ ที่กินข้าวอาทิตย์ละ 5 มื้อ มื้อละไม่ต่ำกว่า 150 กรัม 17 เกือบ 200,000 คน พบว่าการกินข้าวมีส่วนเกี่ยวพันกับการเป็นเบาหวานแบบที่ 2 ผู้ที่กินข้าวขัดขาว จะเสี่ยงกับการเป็นโรคมากกว่าผู้ที่กินข้าวเดือนละสักหนึ่งมื้อมากกว่ากัน ร้อยละ 17

ในขณะที่ผู้ที่กินข้าวกล้องจะตรงกันข้ามเสี่ยงกับ โรคน้อยกว่ากันอย่างเช่น ผู้ที่กินข้าวกล้องอาทิตย์ละสัก 2 มื้อ จะเป็นโรคยากกว่าผู้ที่กินข้าวกล้องเดือนละไม่เกินมื้อร้อยละ 11


ที่มา

กินผักผลไม้ 5 เฉดสี

สารอาหารที่ได้จากผักและผลไม้ นอกเหนือจากวิตามินและเกลือแร่สารพฤกษเคมีหรือที่เรียกกันว่า "ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients)"ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยังเป็นสารอาหารสำคัญช่วยให้สุขภาพดี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บด้วย ไฟโตนิวเทรียนท์คือ สารอาหารจากพืชที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดสารพิษ ทำให้ร่างกายประสาน กัน อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต้านการอักเสบและควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์
ไฟโตนิวเทรียนท์มีมากกว่า 2,000 ชนิด แต่ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ สารในกลุ่มโพลีฟีนอล, กลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น เควอซิทิน,โพรแอนโธไซยานิดิน เป็นต้นด้าน องค์การอนามัยโลกประกาศว่า ต้องรับประทานผักผลไม้ 400-500 กรัมต่อวัน จะได้รับวิตามิน เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์ เพียงพอต่อร่างกาย ซึ่งผลการสำรวจพบว่า โดยเฉลี่ยคนไทยรับประทานผักผลไม้วันละ 276 กรัมต่อคนเท่านั้นซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐาน

ผศ.ดร.สิริ ชัย อดิศักดิ์วัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า สารต้านอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย อาจเกิดจากการเผาผลาญสารอาหารที่เรารับประทาน ภาวะป่วย การติดเชื้อ การสูบบุหรี่ รังสีอัลตราไวโอเลต ความเครียด โดยอนุมูลอิสระเป็นสารที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่ภายในโครงสร้าง ซึ่งไวต่อปฏิกิริยากับดีเอ็นเอ โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีผลให้อวัยวะเสียหายและทำงานผิดปกติ ซึ่งตรงกับผลการวิจัยของยูเอสดีเอ พบว่าการบริโภคผักผลไม้ที่มีไฟโตนิวเทรียนท์เป็นประจำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคอัลไซเมอร์ โรคไขข้ออักเสบ โรคเบาหวาน ความชรา

ขณะที่ นพ.วิเรนทร์ มัลโฮตราแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านแอนตี้เอจจิ้ง ศูนย์วิทัลไลฟ์ เวลเนส เซ็นเตอร์ รพ.บำรุงราษฎร์ เสริมว่า การเลือกรับประทานผักผลไม้ครบ 5 สีหลักทุกวัน ยังเพิ่มคุณประโยชน์ที่สำคัญต่อร่างกายและให้ไฟโตนิวเทรียนท์แตกต่างกัน ซึ่ง 5 สีหลักประกอบด้วย สีแดงจากมะเขือเทศทับทิม อะเซโรลา เชอร์รี่ สตรอเบอรี่ แอปเปิ้ลแดง ให้สารไลโคปีน,กรดเอลลาจิกสีเหลือง/ส้มให้เบ ต้า-แคโรทีน, เฮสเพอริดิน จากส้ม มะนาว แครอท,สีเขียว ให้เอพิแกลโลแคททิชินไกลเคท, ลูทีนและซีแซนทีน จากบรอกโคลี คะน้า กะหล่ำปลี ผักโขม วอเตอร์เครส,สีม่วง/น้ำเงินจากกะหล่ำปลีม่วง ดอกอัญชัน บลูเบอรี่ องุ่นม่วง ให้แอนโธไซยานิน,เรสเวอราทรอล และ สีขาวจากกระเทียมลูกแพร์ หอมใหญ่ ให้อัลลิซิน เควอซิทิน


ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/40978



10 วิธีล้างพิษอาหารก่อนกิน




ช่วงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงแบบนี้ โรคที่คนไทยเป็นกันมากได้แก่ โรคอุจจาระร่วง และอาหารเป็นพิษ โดยมีสาเหตุหลักมาจาก การเลือกทานอาหารที่ไม่สะอาด รวมทั้งการล้างทำความสะอาดด้วย ดังนั้น แนวทางสำคัญที่จะป้องกันโรคร้าย และเงินในกระเป๋า ที่จะไม่ต้องสูญเสียไปกับค่ารักษาพยาบาล ก็คือการสร้างสุขอนามัยในอาหารประจำวันและนี่คือวิธีล้างพิษก่อนกิน สำหรับคุณพ่อบ้านแม่เรือนที่จะทำความสะอาดผักผลไม้

1.ปลอดภัยด้วยสูตรขนมปัง ใช้โซดาทำขนมปัง(โซเดียมไบคาร์บอเนต) 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำอุ่น 20 ลิตร (1 กาละมัง) แช่ผักทิ้งไว้ 15 ก่อนนำมาปรุงอาหาร

2.ลดสารพิษฆ่าแมลง 60-84% โดยใช้น้ำส้มสายชู0.5% หรือน้ำส้มสายชู อสร. 1 ขวดผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 15 นาที

3.ลดสารพิษฆ่าแมลง 54-63% เด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะกร้าโปร่งเปิดน้ำไหลแรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผัก ล้างนาน 2 นาที

4.ลดสารพิษฆ่าแมลง 7-33% ล้างผักรอบแรกให้สะอาด เด็ดผักออกเป็นใบๆ แช่ในอ่างน้ำนาน 15 นาที

5.ลดสารพิษ 50% ลวก ผักด้วยน้ำร้อนส่วนการต้มนั้นลดสารพิษได้ 50% เช่นเดียวกัน แต่จะมีสารพิษตกค้างในน้ำแกงจึงควรล้างผักลดสารพิษก่อนทำแกง

6.เสียปริมาณดีกว่าเสียใจ ผักที่มีกาบใบห่อหุ้มเป็นชั้นๆ เช่น กะหล่ำปลีหัวหอมใหญ่ ควรปอกเปลือกหรือลอกใบชั้นนอกออก จะสามารถช่วยลดสารพิษลงได้

7.ฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ผสมผงปูนคลอรีน 1/2 ช้อนชากับน้ำ 20 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 15-30 นาทีจะฆ่าเชื้อโรคได้ดีมาก

8.ล้างผักด้วยน้ำยาล้างจาน ใช้น้ำยาล้างจานกับฟองน้ำ(หรือสก็อตไบรต์) ถูเบาๆ ช่วยลดโอกาสติดเชื้อที่อยู่บริเวณผิวของผลไม้ได้ วิธีนี้ยังเหมาะสำหรับล้างไข่ด้วย

9.ล้างนอกล้างใน ผลไม้ที่กินทั้งเปลือกได้ เช่น มะเฟือง สตรอเบอร์รี่ ฝรั่งควรล้างหลายๆ ครั้ง ใช้แปรงขนอ่อนถูเบาๆ ให้ทั่วแล้วล้างน้ำเกลือหรือน้ำสุก ส่วนผลไม้ที่ต้องปอกเปลือกก่อนจึงกินได้ เช่น มะม่วง มะละกอ สับปะรด ควรนำมาล้างก่อน จึงค่อยปอกเปลือก เพราะถ้าไม่นำมาล้างก่อน สิ่งสกปรกบนผลไม้จะติดไปกับมือหรือมีดขณะปอกผลไม้ได้ ทำให้เนื้อผลไม้สกปรก

10.ยาสีฟันสารพัดประโยชน์ องุ่นปกติมักจะมีคราบเหมือนยางเป็นฝ้าขาวๆ ล้างยังไงก็ไม่ออก วิธีล้างให้เด็ดผลองุ่นออกจากพวงใส่ภาชนะบีบยาสีฟัน(อะไรก็ได้) พอสมควร ขยี้ให้ทั่วมือ ใส่น้ำพอสมควร แล้วล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะเด็ดน้ำ นอกจากนี้ยังมีการใช้ด่างทับทิม 5 เกล็ดต่อน้ำ 4 ลิตรใช้น้ำปูนใสอิ่มตัวผสมน้ำเท่าตัว ใช้เกลือ 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 4 ลิตร และใช้น้ำซาวข้าวล้างผัก แช่ผักทิ้งไว้ ซึ่งก็ล้วนแต่ช่วยลดสารพิษอันก่อให้เกิดโรคต่อระบบขับถ่าย ลำไส้ ได้ดี

ใครสะดวกแบบไหนก็ใช้ได้ตามความถนัดวิธีที่ดีที่สุดคือ เลือกที่สะดวกปลอดภัยและให้ประสิทธิภาพในการชำระล้างสารพิษได้มากที่สุด เท่านี้...คุณก็จะมีสุขภาพดีจัง ตังค์อยู่ครบตลอดซัมเมอร์แล้ว


วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทักษะ

ทักษะการพูด

เป็นพฤติกรรมทางด้านการแสดงออก เนื่องจากคนไทยมิใช่ชนชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ทักษะการพูดภาษาอังกฤษจึงอาจเป็นทักษะที่ดูเหมือนค่อนข้างจะยาก ในด้านของการออกเสียงหรือสำเนียงให้ถูกต้อง แต่หากผู้เรียนมีความพากเพียรพยายามหมั่นฝึกฝนบ่อย ๆ ก็อาจสามารถทำได้ดีเช่นเดียวกัน แต่ถึงแม้ว่าจะออกเสียงผิดเพี้ยนไปบ้าง ผู้เรียนก็ควรให้ความสำคัญต่อการพยายามสื่อสารให้ได้ความหมายมากที่สุด องค์ประกอบสำคัญ นอกจากเสียงหรือสำเนียงแล้ว ได้แก่ ศัพท์ ไวยากรณ์ ระเบียบวิธีของความสัมพันธ์ระหว่างประโยค ตลอดจนการใช้กริยา ท่าทาง ประกอบในการสื่อสาร
นักศึกษาสามารถที่จะทดลองฝึกพูดตามเทปเสียง ประจำชุดวิชา หรือทดลองอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ และให้ผู้ใกล้ชิดที่มีความรู้ภาษาอังกฤษดีพอสมควร ฟัง และวิจารณ์ปัญหาสำคัญโดยทั่วไปของคนไทยที่ด้อยทักษะทางการพูดมักเนื่องมาจากการขาดโอกาสที่จะพูดภาษาอังกฤษทั้งสิ้น



ทักษะการอ่าน

ประสิทธิภาพในการอ่านจะดีขึ้นเมื่อ
1. มีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์มากขึ้น มีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำ มีความชำนาญในการใช้คำต่าง ๆ เช่น คำนาม กริยาเปลี่ยนรูป วิเศษณ์ บุพบท ฯลฯ
2. มีความเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของประโยค และไวยากรณ์ อย่างถูกต้อง
3. มีความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านอย่างชัดเจน สามารถเข้าใจโครงสร้างของบทความ รู้ตำแหน่งสำคัญของประโยคต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเรื่องราว ซึ่งได้มาจากการเข้าใจความหมายตามตัวอักษร และความสามารถที่จะติดตามเรื่องที่อ่านอย่างมีลำดับ สามารถที่จะเข้าใจความหมายที่แฝงอยู่ของข้อความที่อ่าน
ทักษะการอ่านนี้คงต้องเริ่มจากการอ่านหนังสือที่มีรูปประโยคง่าย ๆ และศัพท์ ง่าย ๆ ก่อน เมื่อเข้าใจดีขึ้นก็เพิ่มความยากของศัพท์ให้มากขึ้น และประโยคที่มีโครงสร้างซับซ้อนขึ้น หากนักศึกษาไม่แน่ใจในทักษะภาษาอังกฤษของตนเอง นักศึกษาอาจนำหนังสือประกอบการเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษามาทดสอบการอ่านดู หากสามารถอ่านผ่านมาได้ ตอบคำถามต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ทักษะพื้นฐานของนักศึกษาก็ควรจะอยู่ในระดับที่สามารถจะศึกษาชุดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานได้ เพราะชุดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานเป็นชุดวิชาภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา ที่มีเนื้อหาในลำดับที่สูงขึ้นจากภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษานั้นเอง


ทักษะการเขียน

ทักษะการเขียน เป็นทักษะที่ต้องผ่านกระบวนการทางความคิดหลายขั้นตอน ตั้งแต่การรวบรวมความคิด การลำดับเรื่อง และเลือกสรรถ้อยคำในการถ่ายทอดออกมาเป็นข้อความที่สามารถสื่อความหมายได้ตรงความต้องการ
ทักษะการเขียนจะต้องอาศัยความเข้าใจโครงสร้างภาษาอย่างถูกต้อง รู้ศัพท์ สำนวน รูปแบบ ประโยค ไวยากรณ์ และเช่นเดียวกับทักษะอื่น ๆ ผู้เรียนจะต้องหมั่นฝึกฝนและหัดเขียนอยู่เสมอ นอกจากนั้นการเขียนและการอ่านเป็นทักษะที่เชื่อมโยงกัน หากผู้เรียนมีประสบการณ์ในการอ่านมาก ก็จะได้เห็นรูปแบบวิธีเขียน แนวคิดในการสื่อสารของผู้เขียน ซึ่งจะช่วยทำให้มีแบบอย่างสำหรับการเขียน สำหรับตนเองมากขึ้นด้วย


สำหรับนักศึกษานั้นควรจะหาโอกาสไปเข้ารับการสอนเสริม เพื่อที่จะมีโอกาสได้สนทนา ซักถามอาจารย์ผู้สอนโดยตรง อย่างไรก็ตามการศึกษาด้วยตนเองโดยไม่มีชั้นเรียนปกตินั้น นักศึกษาต้องดูแลตนเองให้มีวินัยในการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนวิชาภาษานั้นจะต้องฝึกฝนเป็นประจำ สม่ำเสมอ หากไม่ท้อถอยในการเรียนเสียก่อน ความสำเร็จในการศึกษาต้องเป็นของนักศึกษาอย่างแน่นอน

ที่มา
http://www.stou.ac.th/


ทฤษฎีการเรียนรู้


ทฤษฎีการเรียนรู้

ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)

เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
การนำไปใช้กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม

ที่มา http://www.wikipedie.org/