ภาพ-เล่า-เรื่อง

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กินผักผลไม้ 5 เฉดสี

สารอาหารที่ได้จากผักและผลไม้ นอกเหนือจากวิตามินและเกลือแร่สารพฤกษเคมีหรือที่เรียกกันว่า "ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients)"ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยังเป็นสารอาหารสำคัญช่วยให้สุขภาพดี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บด้วย ไฟโตนิวเทรียนท์คือ สารอาหารจากพืชที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดสารพิษ ทำให้ร่างกายประสาน กัน อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต้านการอักเสบและควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์
ไฟโตนิวเทรียนท์มีมากกว่า 2,000 ชนิด แต่ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ สารในกลุ่มโพลีฟีนอล, กลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น เควอซิทิน,โพรแอนโธไซยานิดิน เป็นต้นด้าน องค์การอนามัยโลกประกาศว่า ต้องรับประทานผักผลไม้ 400-500 กรัมต่อวัน จะได้รับวิตามิน เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์ เพียงพอต่อร่างกาย ซึ่งผลการสำรวจพบว่า โดยเฉลี่ยคนไทยรับประทานผักผลไม้วันละ 276 กรัมต่อคนเท่านั้นซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐาน

ผศ.ดร.สิริ ชัย อดิศักดิ์วัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า สารต้านอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย อาจเกิดจากการเผาผลาญสารอาหารที่เรารับประทาน ภาวะป่วย การติดเชื้อ การสูบบุหรี่ รังสีอัลตราไวโอเลต ความเครียด โดยอนุมูลอิสระเป็นสารที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่ภายในโครงสร้าง ซึ่งไวต่อปฏิกิริยากับดีเอ็นเอ โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีผลให้อวัยวะเสียหายและทำงานผิดปกติ ซึ่งตรงกับผลการวิจัยของยูเอสดีเอ พบว่าการบริโภคผักผลไม้ที่มีไฟโตนิวเทรียนท์เป็นประจำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคอัลไซเมอร์ โรคไขข้ออักเสบ โรคเบาหวาน ความชรา

ขณะที่ นพ.วิเรนทร์ มัลโฮตราแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านแอนตี้เอจจิ้ง ศูนย์วิทัลไลฟ์ เวลเนส เซ็นเตอร์ รพ.บำรุงราษฎร์ เสริมว่า การเลือกรับประทานผักผลไม้ครบ 5 สีหลักทุกวัน ยังเพิ่มคุณประโยชน์ที่สำคัญต่อร่างกายและให้ไฟโตนิวเทรียนท์แตกต่างกัน ซึ่ง 5 สีหลักประกอบด้วย สีแดงจากมะเขือเทศทับทิม อะเซโรลา เชอร์รี่ สตรอเบอรี่ แอปเปิ้ลแดง ให้สารไลโคปีน,กรดเอลลาจิกสีเหลือง/ส้มให้เบ ต้า-แคโรทีน, เฮสเพอริดิน จากส้ม มะนาว แครอท,สีเขียว ให้เอพิแกลโลแคททิชินไกลเคท, ลูทีนและซีแซนทีน จากบรอกโคลี คะน้า กะหล่ำปลี ผักโขม วอเตอร์เครส,สีม่วง/น้ำเงินจากกะหล่ำปลีม่วง ดอกอัญชัน บลูเบอรี่ องุ่นม่วง ให้แอนโธไซยานิน,เรสเวอราทรอล และ สีขาวจากกระเทียมลูกแพร์ หอมใหญ่ ให้อัลลิซิน เควอซิทิน


ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/40978



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น